การขนส่งสินค้าทางอากาศ

การขนส่งสินค้าทางอากาศ!!!!

              การขนส่งสินค้าทางอากาศ  หมายถึง  การขนส่วที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายประต่างๆ มีการพัฒนาสนามบินพาณิชย์ให้ทันสมัยและเพียงพอกับความต้องการของบริษัทที่สร้างเครื่องบินซึ่มีขนาดใหญ่และสมรรถภาพในการบินสูง  สามารถบรรจุสินค้าและยรรทุกผู้โดยสารได้มากขึ้น  มีเครื่องมือในการขนส่งสินค้าอันทันสมัยครบครัน  นอกจากนี้ยังมีการขยายและปรับปรุงบริเวณคลังสินค้าที่ท่าอากาศยานให้กว้างขวางทันสมัยเพื่อการขนส่งสินค้าดำเดินบทบาทของการขนส่งทางอากาศกับการค้าระหว่างประเทศ

             คุณลักษณะที่สำคัญของการขนส่งสินค้าทางอากาศ
                        1.  ความรวดเร็ว  การขนส่งสินค้าทางอากาศถือว่ารวดเร็วที่สุด
                        2.  ความแน่นอน  มีตารางการบินที่แน่นอน  สม่ำเสมอและตรงต่อเวลา

                  การขนส่งสินค้าทางอากาศนี้อาจมีข้อจำกัดในเรื่องน้ำหนัก  และชนิดสินค้าที่ถูกกำหนด อาทิ เช่น  น้ำหนักต่อ  1000  ต้องเสียค่าระวางแบบพิเศษ   หรือการขนส่งสิ่งมีชีวิตที่ต้องการใบรับรองยินยอมไม่เอาเรื่องต่อสายการบินหากสิ่งมีชีวิตนั้นเสียชีวิตในระหว่างเดินทาง

           ประโยชน์ต่อผู้นำเข้า-ผู้ส่งออก
                       1.  ช่วยให้ติดต่อค้าขายระหว่งประเทศดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
                       2.  ผู้นำเข้า-ผู้ส่งออกสามารถลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น การสร้างโกดังเพื่อเก็บสินค้าที่จะนำเข้า-ออก
                       3.  ช่วยให้สินค้าแบบหรือรุ่นใหม่โดยเฉพาะสินค้าประเภทแฟชั่นส่งไปถึงตลาดในที่ต่างๆทั่วโลกให้พร้อมกัน
                      4.  การบรรจุหีบห่อสำหรับสินค้าทั่วไปที่ส่งทางอากาศมักเป็นแบบง่ายๆ ช่วยทำให้ประหยัดวัสดุและค่าขนส่ง
                      5.  ถ้านิยมในตลาดต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไป ผู้นำเข้า-ผู้ส่งออกสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ของตลาดได้ทันมี
                      6.  การขนส่งสินค้าทางอากาศสามารถดำเนินการด้านเอกสารได้อย่างรวดเร็วในการถ่ายสินค้าจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง

              ผู้มีบทบาทในการขนส่งสินค้าทางอากาศ
                       1. ผู้ส่งสินค้าหรือ shipper หมายถึง ผู้ที่มีชื่อปรากฎอยู่ในเอกสารกำกับสินค้าหรือ
 air  waybill ที่จะทำการหรือร่วมมือทำการขนส่งสินค้าภายใต้เงื่อนไขใน  air waybill
                       2. บริษัทหรือ carrier  หมายถึง  บริษัทการบินต่างๆซึ่งรวมทั้งบริษัทการบินที่ออกเอกสารกำกับสินค้า air waybill  ที่จะทำการขนส่งสินค้าภายใต้เงื่อนไขใน air waybill
                       3. ผู้รับสินค้า consignee หมายถึง ผู้ที่มีนามระบุอยู่ใน air waybill ซึ่งบริษัทการบินจะต้องส่งมอบสินค้าให้เมื่อถึงเมืองปลายทางตามที่ระบุไว้
                       4. บริษัทตัวแทน IATA CARGO AGENT  หมายถึง บริษัทที่ได้รับรองจากสมาคมการขนส่งทางอากาศและแต่งตั้งโดยบริษัทการบินให้ดำเนินการรับและออกเอกสารกำกับสินค้า air waybill พร้อมทั้งเก็บค่าขนส่งที่เกี่ยวข้องในนามของบริษัทการบิน
                       5. ศุลกากร (customs)

          วิธีการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ  สำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศในประเทศไทย  เมื่อผู้ต้องการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังผู้รับในต่างประเทศ จะต้องมีขั้นตอนวิธีการให้บริการขนส่งดังต่อไปนี้  คือ
                 -ขั้นตอนที่ 1  ผู้ส่งสินค้าทางอากาศจะต้องติดต่อตัวแทนผู้รับจัดการขนส่ง เมื่อมีการตกลงระหว่างผู้ส่งสินค้ากับตัวแทนเรียบร้อยแล้ว ถ้าหากสินค้ามีจำนวนหรือปริมาณไม่มากนักก็อาจส่งให้ตัวแทนในเมืองได้แต่ถ้าหากสินค้านั้นมีปริมาณมากจะต้องส่งสินค้าทางสนามบิน
                 -ขั้นตอนที่2  หลังจากผู้ส่งสินค้าได้ชำระค่าระวาง (ในกรณีที่ขายสินค้าในราคา C&F จะต้องเก็บค่าระวางต้นทาง ถ้าในกรณีขายสินค้า  E.O.B ก็จะเก็บค่าระวางปลายทาง)  และผ่านการตรวจสอบของศุลกากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สายการบินจะนำสินค้าไปเก็บในคลังสินค้าขาออกเพื่อเตรียมขึ้นเครื่องบินต่อไป
                 -ขั้นตอนที่3  ถ้าหากมีการถ่ายลำสินค้านั้น ก็จะถูกนำไปดเก็บในคลังสินค้าสำหรับการถ่ายลำ

         
           การให้บริการตามชนิดสินค้า  เป็นการผลิตบริการของสายการบินในการให้บริการรับส่งสินค้าทางอากาศตามชนิดของสินค้าแต่ละประเภท  ซึ่งสินค้าที่เหมาะสมในการขนส่งทางอากาศสามารถแบ่งได้ 4 ประเภทด้วยกัน
        1.ประเภทสินค้าที่เก็บไว้ได้ไม่นาน ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตรกรรมซึ่งเน่าเสียได้เสีย (Perishable Goods) ได้แก่ ผลไม้สด ดอกไม้สด ผักสด ต้นไม้ สัตว์มีชีวิต เป็นต้น
        2.ประเภทสินค้าต้องการรีบด่วน ส่วนใหญเป็นสินค้าที่ต้องการให้ทันต่อเหตุการณ์  เป็นสิ่งของช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ที่จะส่งมอบให้เเก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติหรือสงคราม  หรือต้องการ
อะไหล่เพื่อเปลี่ยนโดยด่วนหรือสินค้าที่ต้องการทดสอบตลาด เป็นต้น
       3.ประเภทสินค้าที่ล้าสมัย  ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทง่ายต่อการล้าสมัย  เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน
หนังสือรายสัปดาห์  นิตยสารหรือวารสารรายปักษ์  เสื้อผ้า  แฟชั่นตามสมัย  เป็นต้น
       4.ประเภทสินค้าที่มีมูลค่าสูง  ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทที่มีมูลค่าสูง  แต้มีน้ำหนักไม่มาก  เช่น  อัญมณี  ทองคำ  ธนบัตร  เครื่องประดับ  ชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์  เป็นต้น  ในการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศของสายการบินนั้นมีสินค้าหลายชนิดที่ธุรกิจการบินไม่รับขนส่งให้แก่ผู้ใช้บริการ  เนื่องจากเป็นสินค้าที่ขัดต่อศีลธรรม  ความสงบเรียบร้อยเเละความปลอดภัย  ซึ่งสินค้าที่ห้ามทำการขนส่งทางอากาศ  โดยกฎกระทรวงฉบับที่ 6 พ.ศ.2498  ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497


        การให้บริการคลังสินค้า
              เป็นการให้บริการของธุรกิจการบินในด้านสถานที่เก็บสินค้าชั่วคราวแก่ผู้ใช้บริการขนส่งสินค้า  เพื่อรอการตรวจตราจากศุลกากรเเละรอการรับจากผู้รับสินค้า  หรืออาจจะรอการถ่ายลำเพื่อส่งสินค้าไปยังประเทศอื่น  ตามปกติคลังสินค้าประเภทนี้จะไม่คิดค่ารักษาภายในกำหนดเวลาไม่เกิน  48  ชั่วโมง โดยทั่วไปสายการบินแต่ละสายจะมีคลังสินค้าของตนเอง  ซึ่งอาจเช่าสถานที่จากรัฐบาลเพื่อดำเนินการจัดเก็บสินค้าของลูกค้าผู้ใช้บริการของสายการบินเอง  ฉะนั้นเมื่อมีการขนส่งสินค้าทางอากาศโดยสายการบินได  ผู้รับสินค้าจะต้องไปรับ ณ คลังสินค้า  ของสายการบินนั้น


       ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขนส่งสินค้าทางอากาศ
              สมาคมการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ (The International  Air  Cargo  Association - TIACA)  ได้ประมาณการณ์ไว้ว่า ในปัจจุบันกว่าร้อยละ  34  ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ  ต้องอาศัยการขนส่งสินค้าทางอากาศ  ยิ่งไปกว่านั้นการขนส่งสินค้าทางอากาศยังมีอัตราเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยที่ปริมาณสินค้าที่ขนส่งทางอากาศได้ขยายเกือบเท่าตัวในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา  แม้จะประสบกับภาวะตกต่ำในบางช่วงก็ตาม  แต่ธุรกิจการบินที่บริการขนส่งสินค้าทางอากาศสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขยายตัวของการขนส่งสินค้าทางอากาศที่สำคัญมี 6 ประการ คือ
             1.การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน  รวมถึงการพัฒนาทั้งทางด้านเกษตรเเละอุตสาหกรรมของโลกได้ก่อให้เกิดประเภทของสินค้าต่างๆ หลากหลายขึ้นมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่มีมูลค่าสูง  แต่มีขนาด  ปริมาตร  และน้ำหนักไม่มาก  ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องอาศัยระบบการขนส่งที่รวดเร็วปลอดภัย  เเละมีการดูแลสภาพของสินค้าอย่างดีที่สุด  เช่นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  อุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์  เครื่องมือเเละอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีมูลค่าสูง  อัญมณีเเละเครื่องประดับ
             2.การขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของประมาณการค้าของโลกเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปริมาณเเละประเภทของสินค้าที่ต้องอาศัยการขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้น  ยิ่งไปกว่านั้นการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก (World Trade Organixation - WTO)
            3.ธุรกิจเเบบครบวงจร  เป็นธุรกิจที่ต้องการด้านการขนส่งที่เชื่อถือเเละวางใจได้  เพื่อนำสิ่งต่างๆ ที่กิจการต้องการมาให้ในสภาพที่ดีเเละตามกำหนดเวลา  เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บเเละบำรุงรักษา  การขนส่งสินค้าทางอากาศจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมของธุรกิจนี้
           4.แนวทางการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่เรียกว่า Just-in-Time Concept  แนวทางดังกล่าวมุ่งเน้นการบริหารสินค้าคงเหลือเเละปริมาณสต็อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  เพื่อเป็นการลดต้นทุนการดำเนินงานภายใต้วิธีการบริหารจัดการแบบ Just-in-Time Concept  นี้ผู้ประกอบการในธุรกิจระหว่างประเภทจะมีสต็อกสินค้าในปริมาณต่ำที่สุดหรือเฉพาะในปริมาณเท่าที่จำเป็นเท่านั้น  แต่แนวทางการบริหารดังกล่าวจะประสบผลได้  ก็จะต้องอาศัยระบบการจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้ขายเเละสู่ตลาดที่มีความรวดเร็วตรงเวลา  ถูกต้องเเละเเม่นยำ
          5.การผ่อนปรนกฎเเละข้อบังคับของประเทศต่างๆ  ทำให้ธุรกิจการบินสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น
          6.นโยบายเปิดเสรีทางการบินพาณิชย์  ทำให้ธุรกิจการบินต่างๆ  ทั้งขนส่งผู้โดยสารเเละขนส่งสินค้า  สามารถขยายบริการไปยังน่านฟ้าประเภทต่างๆ ได้เสรีมากขึ้น  ธุรกิจการบินจึงหันมาเพิ่มบทบาทในบริการขนส่งสินค้าทางอากาศกันมากขึ้น  โดยการจัดตั้งธุรกิจการบินรับส่งสินค้าขึ้นมาโดยเฉพาะ
         7.การผลิตเครื่องบินรุ่นใหม่  จะเป็นเครื่องบินที่ได้พัฒนาเเละปรับปรุงให้มีสมรรรถนะเเละประสิทธิภาพสูง  สามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากขึ้น  เเละบินได้ระยะทางที่ไกล  ทำให้การส่งสินค้าทางอากาศขยายตัวได้มากขึ้น
        8.ท่าอากาศยาน  ระบบพื้นฐานของท่าอากาศยานในปัจจุบันเเละที่สร้างหรือปรับปรุงใหม่ล้วนเอื้ออำนวยต่อการขนส่งสินค้าทางอากาศเป็นอย่างมาก  เพราะสามารถเชื่อมโยงระบบขนส่งทั้งทางรถไฟ รถยนต์  เรือ  เเละเครื่องบินเข้าด้วยกัน  อีกทั้งยังมีระบบสื่อสารที่ทันสมัยไว้บริการ
        9.น้ำมันเชื้อเพลิง  เป็นปัจจัยสำคัญที่ดำเนินการเเละกำหนดราคาค่าขนส่งถ้าหากปราศจากน้ำมันเชื้อเพลิง  ก็ไม่สามารถดำเนินงานขนส่งสินค้าทางอากาศได้


         คำศัพท์เกี่ยวกับการนำเข้าเเละส่งออก

         BAF (Bunker  Adjuster  Factor)                        ตัวปรับค่าน้ำมัน

        Surender  B/L                                                    ใบตราส่งสินค้าที่ผู้รับใบตราส่ง  สามารถรับใบสั่ง
                                                                                  ปล่อยสินค้าที่ปลายทางได้  โดยไม่ต้องใช้ใบตรา
                                                                                  สินค้าต้นฉบับ

        AWB (Air Waybill)                                              ใบตราสินค้าทางอากาศ

        HAWB (House Air Waybill)                                ใบตราขนส่งทางอากาศที่ออกโดย Freight                                                                                                Forwarder

       CAF (Currency Adjustment Factor)                      ตัวปรับเงินสกุลค่าวางเรือ

       CFS (Containern Freight  Station)                         สถานีตู้สินค้า

       CY (Container  Yard)                                           ลานตู้สินค้า

       FCL (Full Container  Load)                                  สินค้าเต็มตู้

       LCL(Less Than container  Load)                          สินค้าไม่เต็มตู้

      Consolidation                                                         การรวบรวมสินค้า หรือ การรวมสินค้า โดยปกติจะ                                                                                       กระทำโดยตัวแทนของผู้ซื้อสินค้า

      TEU (Twenty-Foot Equivalent Unit)                        ตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต

      FEU (Forty-Foot Equivalent Unit)                          ตู้สินค้าขนาด 40 ฟุต

      THC (Terminal Handing Charge)                            ค่าใช้จ่ายที่ทำในการเคลื่อนย้ายตู้สินค้า

      Freight Collect                                                       ค่าระวางจ่ายที่เมืองปลายทาง

      Freight Prepaid                                                       ค่าระวางจ่ายที่ต้นทาง

      Detention                                                               ค่าคืนตู้สินค้าที่ช้าเกินกว่าที่กำหนด



       บริการหีบห่อ (Packaging)  หมายถึง  สิ่งห่อหุ้มผลิตภัณฑ์รวมทั้งภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์จากเเหล่งผู้บริโภค  หรือแหล่งใช้ประโยชน์  หรือวัตถุประสงค์เบื้องต้น



      ประโยชน์ของบรรจุหีบห่อ (Packaging)
               1.การป้องกัน (Protection)  เช่น  กันน้ำ  กันความชื้น  กันเเสง  กันเเก๊ส  เมื่ออุณหภูมิสูงหรือต่ำ  ต้านทานมิให้ผลิตภัณฑ์เเปรสภาพ  ไม่แต่ไม่ฉีกขาดง่าย  ปกป้องให้สินค้าอยู่ในสภาพใหม่สดอยู่ใน สภาวะเเวดล้อมของตลาดในวงจรยาว  โดยไม่แปรสภาพขนานแท้เเละดั่งเดิม
               2.การจัดจำหน่ายเเละการกระจาย (Distribution)  เหมาะสมต่อพฤติกรรมการซื้อของเอื้อ
อำนวยการเเยกขาย  ส่งต่อ  การตั้งโชว์  การกระจาย  การส่งเสริมจูงใจในตัว  ทนต่อการขนย้าย  ขนส่ง เเละการคลังสินค้า  ด้วยต้นทุนสมเหตุสมผล  ไม่เกิดรอยขูดขีด/ชำรุด  ตั้งเเต่จุดผลิตเเละบรรจุจนถึงมือผู้ซื้อ  ผู้ใช้  ผู้บริโภค  ทนทานต่อการเก็บไว้นานได้
               3.การส่งเสริมการจำหน่าย (Prornotion) เพื่อยืดพื้นที่เเสดงจุดเด่น  โชว์ตัวเองได้อย่างสุดุดตา  สามารถระบุแจ้งเงื่อนไข  แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจผู้บริโภค  เมื่อ  ต้องการจัดรายการเพื่อเสริมพลังการเเข่งขัน  ก็สามารถเปลี่ยนเเปลงเเละจัดทำได้สะดวก ควบคุมได้  เเละประหยัด
               4.การบรรจุภัณฑ์กลมกลืนกับสินค้าเเละกรรมวิธีการบรรจุ (Packaging)  เหมะสมทั้งในแง่การ
ออกเเบบเเละเพื่อให้มีโครงสร้างเข้ากับขบวนการบรรจุ และเอี้ออำนวยความสะดวกในการหิ้ว  ถือกลับบ้าน  ตลอดจนการใช้ได้กับเครื่องมือบรรจุที่มีอยู่แล้ว  รับผิดชอบต่อสังคม  ไม่ก่อให้เกิดมลพิษเเละอยู่ในทำนองคลองธรรมถูกต้องตามกฏหมายเเละพระราชบัญญัติต่างๆ
             5.เพิ่มยอดขาย  เนื่องจากในตลาดมีสินค้าเเละคู่เเข่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา  หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าใดได้รับการออกเเบบเป็นอย่างดี  จะสามารถดึงดูดตา  ดึงดูดใจผู้บริโภคเเละก่อให้เกิดการซื้อในที่สุด  รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิต


      ประเภทของสินค้าทางอากาศ (Classification of Cargo )
              สินค้าทางอากาศ  สามารถแบ่งได้เป็น  4  ประเภทหลัก  ได้แก่
              1.สินค้าทั่วไป  (General Cargo)
              2.สินค้าที่ต้องการการดูเเลเป็นพิเศษ (Special Cargo)
              3.สินค้าของบริษัทสายการบินเเละพนักงาน (Service Cargo)
              4.สินค้าเเละไปรษณีย์ภัณฑ์ทางการทูต (Diplomatic Cargo and Mail)


     ตัวอย่างของสินค้าที่ต้องการการดูเเลเป็นพิเศษ
             - สินค้าประเภทวัตถุอันตราย
             - สินค้าเเตกหักง่าย
             - สินค้าน้ำหนักมากเเละสินค้าขนาดใหญ่ (HEA/BIG)
             - ศพมนุษย์ (HUM)
             - สัตว์มีชีวิต (AVI)
             - วัตถุที่มีลักษณะเป็นแม่เหล็ก (MAG)
             - สินค้าของสดหรือที่เสียง่าย (PER)
             - สินค้ามีค่า (VAL) เเละสินค้าที่เสี่ยงต่อการสูญหาย(VUN)
             - สินค้าที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ (WET)
             - สินค้าประเภทวัตถุอันตราย


               สินค้าประเภทวัตถุอันตราย  หมายถึง  วัตถุหรือสิ่งของที่โดยคุณสมบัติของมันเองก่อให้เกิดอันตราย  ต่อสุขภาพของมนุษย์ ความปลอดภัย หรือทรัพย์สินได้  การขนส่งทางอากาศกระทำได้โดยจำกัด  ปริมาณการบรรจุตามวิธีการบรรจุที่ระบุไว้ในระเบียบปฎิบัติว่าด้วยการขนส่ง  สินค้าอันตราย ซึ่งการจัดประเภทสินค้าอันตรายถูกกำหนดจากลักษณะของอันตรายของสารนั้น ทั้งนี้สามารถแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ดังนี้

        Class 1: วัตถุระเบิด

                   

                     วัตถุระเบิด จำแนกได้ 6ชนิดดังนี้
                             1.1 สารที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรง
                             1.2 สารที่ก่อให้เกิดอันตรายโดยการกระจายของสะเก็ดเมื่อเกิดการระเบิด
                             1.3 สารที่ก่อให้เกิดอันตรายจากเพลิงไหม้และตามด้วยการระเบิด
                             1.4 สารที่การระเบิดไม่มีการกระจายของสะเก็ด  ผลของการระเบิดจำกัด เฉพาะในหีบห่อ
                            1.5 สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่เมื่อเกิดการระเบิดจะเกิดอันตรายอย่างรุนแรง
                            1.6 สารที่เฉื่อยต่อการระเบิด ซึ่งผลจากการระเบิดไม่รุนแรง


            Class 2:

                               

                      ก๊าซอัด จำแนกได้ 3 ชนิดดังนี้
                           2.1 ก๊าซไวไฟ
                           2.3 ก๊าซไม่ไวไฟ
                           2.3 ก๊าซพิษ


              Class 3: ของเหลวไวไฟ

                                     

               ของเหลวหรือของเหลวผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash  Point) ไม่เกิน 60.5 องศาเซลเซียล  จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด  (Closed-cup Test)  หรือไม่เกิน  65.6  องศาเซลเซียล  จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด (Opened-cup Test)  ไอของเหลวไวไฟพร้อมลุกติดไฟเมื่อมีเเหล่งประการไฟ  ตัวอย่างเช่น
อะซิโตน  น้ำมันเชื้อเพลิง  ทินเนอร์ เป็นต้น


             Class 4:  ของเเข็งไวไฟ
                                                 
                                             


                 ของแข็งไวไฟ จำเเนกออกเป็น  3  ชนิด  ดังนี้
                 4.1 สารที่ลุกไหม้ได้เองจากการเสียดสี  หรือปฎิกิริยาของสารเอง
                 4.2 สารที่ลุกไหม้ได้เองเมื่อสัมผัสกับอากาศ
                 4.3 สารที่ลุกไหม้ได้เองสัมผัสกับน้ำหรือความชื้น


               Class 5: สารออกซิไดส์เเละสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์

                                               


             สารออกซิไดส์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์  จำแนกออกเป็น 2  ชนิด ดังนี้
             5.1 สารออกซิไดส์ซึ่งจะช่วยให้สารอื่นติดไฟได้โดยการให้ออกซิเจน
             5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ซึ่งสามารถลุกไหม้ได้รับความร้อนหรือการเสียดสี


            Class 6: สารพิษเเละสารเชื้อโรค

                                                             
              


           สารพิษเเละสารเชื้อโรค  จำเเนกออกเป็น  2  ชนิดดังนี้
           6.1 สารที่เป็นเมื่อหายใจ  กลืนกิน  หรือสัมผัส
           6.2 จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับมนุษย์เเละสัมผัส


           Class 7: สารกัมมันตรังสี

                                     


          วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม  ตัวอย่างเช่น  โมนาไซด์  ยูเรเนียม  โคบอลต์  เป็นต้น


          Class 8: สารกัดกร่อน

                                                       


               ของแข็งหรือของเหลวซึ่งโดยปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหาย ต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรงหรือทำลายสินค้า/ยานพาหนะที่ทำการขนส่ง เมื่อเกิดการรั่วไหลของสารไอระเหยของสารประเภทนี้ บางชนิดก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อจมูกและตา ตัวอย่างเช่น กรด เกลือ กรดกำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นต้น


                  Class 9 : สารอันตรายอื่นๆ

                                                    


                           9.1 สารที่เป็นอันตราย ซึ่งยังไม่ได้จัดอยู่ในประเภทใดใน 8 ประเภท ข้างต้นแต่สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้
                           9.2 สารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาวะแวดล้อม
                           9.3 ของเสียอันตราย



              สินค้าแตกหักง่าย

                                                   


                             สินค้าแตกหักง่าย หมายถึง สินค้าที่มีลักษณะบอบบาง เปราะ หรือแตกหักเสียหายง่ายหากเกิดการกระทบ กระแทก ถูกทับ หรือตกในระหว่างที่ทำการขนส่ง ได้แก่ เครื่องแก้ว เคื่องปั้นดินเผา เครื่องลายคราม เป็นต้น การขนส่งจะต้องบรรจุในหีบห่อที่แข็งแรง เช่น ลังไม้ และควรเป็นหีบห่อใหม่หากเคยใช้แล้วต้องอยู่ในสภาพที่ดีแข็งแรง หีบห่อของสินค้าแตกหักง่ายจะต้องติดป้าย "ของแตกหักง่าย" และป้าย "ตั้งตามลูกศร"     

     
สินค้าน้ำหนักมากและสินค้าขนาดใหญ่ (HEA/BIG)

            สินค้าหนัก หมายถึง สินค้าที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 150 กิโลกรัมขึ้นไปต่อหนึ่งหีบสินค้าขนาดใหญ่ หมายถึง  สินค้าที่มีขนาดกว้างหรือยาวเกินขนาดของแผ่นบรรทุกสินค้า 88"x125",96x125" หรือมีขนาดที่ยากยากต่อการจัดบรรทุกในเครื่องบิน แบบลำตัวแคบ สินค้าน้ำหนักมากและสินค้าขนาดใหญ่จะต้องได้รับการยืนยันการทำสำรองระวาง บรรรทุกก่อนการรับขนส่งทุกครั้ง    


                ศพมนุษย์ (HUM) 
        การรับขนส่งศพมนุษย์จะต้องมีเอกสาร "ใบมรณะบัตร" ประกอบการขนส่งศพจะต้องบรรจุอยู่ในโลงที่แข็งแรงและมีที่จับยึด ภายนอกคลุมด้วยผ้าใบ ส่วนอูฐ จะต้องใส่ในภารชนะบรรจุที่ไม่แตกง่ายมีวัตถุกันกระแทกและจะต้องมีเอกสาร "ใบฌาปณกิจ" แนบมาด้วย


                สิ่งมีชีวิต (AVI)
                                          
                                 
                        การรับส่งสัตว์มีชีวิตจะต้องเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการขนส่งสัตว์มีชีวิต ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
                  1. สุขภาพของสัตว์จะต้องไม่ป่วยหรือป่วยหรือเป็นโรค ต้องได้รับการดูเเลระหว่างการขนส่งเป็นอย่างดี  เเละห้ามรับขนส่งสัตว์ที่กำลังท้องเเก่
                  2. กรงที่ใช้ขนส่งสัตว์ต้องเหมาะสมกับชนิดของสัตว์นั้นๆ ต้องสะอาดและกันน้ำ  รั่วซึม ตลอดจนง่ายต่อการขนถ่ายพร้อมทั้งติดป้าย "สัตว์มีชีวิต"
                  3. อาหารที่นำมาเพื่อเลี้ยงดูสัตว์จะต้องรวมอยู่ในน้ำหนักที่ใช้คิดค่าระวางสินค้า
                  4. การขนส่งสัตว์มีชีวิตจะต้องมีการสำรองระวางบรรทุกไว้ล่วงหน้า ตลอดเส้นทางบิน
                  5. สัตว์มีชีวิตจะนำมารวมกับสินค้าอื่นๆ ภายใต้ใบตราส่งสินค้าชุดเดียวกันไม่ได้
                  6. การขนส่งสัตว์มีชีวิตจะต้องมี "ใบตรวจสุขภาพสัตว์" "ใบสำเเดงสัตว์มีชีวิต" เเละใบ
อนุญาติอื่นๆ สำหรับสัตว์บางประเภทตามที่ระบุไว้ในระเบียบว่าด้วยการขนส่ง สัตว์มีชีวิต


                   วัตถุที่มีลักษณะเป็นเเม่เหล็ก (MAG)


               สินค้าเเม่เหล็กหมายถึงสินค้าที่คุณสมบัติสามารถเกิดสนามแม่เหล็กซึ่งมีผล  ต่อระบบนำร่องของเครื่องบิน  เช่น  เข็มทิศ  เรดาร์  โดยหีบห่อของสินค้าแม่เหล็กจะต้องติดป้าย "สินค้าแม่เหล็ก" ด้วย


             
                        สินค้าของสดหรือที่เสียง่าย (PER

                          สินค้าของสดเสียง่าย หมายถึงสินค้าที่ง่ายต่อการเน่าเปื่อย  หรือบูดเน่าได้ง่าย  เช่น  ผลิตภัณฑ์จากนม  เนื้อสัตว์  ปลาสด  พืช  ผักเเละผลไม้  เป็นต้น  การรับขนส่งสินค้าประเภทนี้จะต้องมีการเตรียมการ  ล่วงหน้าเเละมีทำสำรองระวางบรรทุกตลอดเส้นทางบินเเต่ละหีบห่อของสินค้าของสดเสียง่าย  จะต้องติดป้าย "ของสดเสียง่าย" เเละป้าย "ตั้งตามลูกศร


          สินค้ามีค่า (VAL)
          สินค้ามีค่าหมายถึงสินค้าดังต่อไปนี้


          1.สินค้าที่มีการประะเมินราคาเพื่อการขนส่งเกิน  1000 ดอลล่าร์สหรัฐต่อน้ำหนักรวม  1  กิโลกรัม
          2.ทองคำหรือทองคำขาว  ทั้งที่หลอมแล้วหรือยังไม่ได้หลอม  ในรูปแบบต่างๆ
          3.ธนบัตร  ตั๋วเงิน  เช็คเดินทาง  ใบหุ้น  ใบกู้  ดวงตราไปรษณีย์และบัตรเครดิต
          4.อัญมณีมีค่า  ได้แก่  เพชร  ทับทิม  มรกต  พลอยไพลิน  มุกดา  ไข่มุกและไข่มุกเลี้ยง
          5.เครื่องประดับที่ทำด้วยอัญมณีมีค่า
          การรับสินค้ามีค่าต้องมีการควบคุมดูแลการขนส่งอย่างรัดกุมปลอดภัยในทุกขั้นตอนและต้องมีการทำสำรองระวางทุกตลอดเส้นทางบินไม่ควรมีจุดเปลี่ยน  เครื่องหรือถ้ามีก็ให้น้อยที่สุดเเละหีบห่อของสินค้ามีค่าต้องมั่นคงแข็งเเรง


         สินค้าที่เสี่ยงต่อการสูญหาย (VUN)
         สินค้าที่เสี่ยงต่อการสูญหาย  หมายถึงสินค้าที่ไม่เข้าข่ายสินค้ามีค่า  แต่มีลักษณะ  เเละขนาดที่  เอื้ออำนวยหรือมีราคาจูงใจให้เกิดการลักขโมยหยิบฉวยได้ง่าย  ได้เเก่  กล้องถ่ายรูป  นาฬิกาข้อมือ  เครื่องคิดเลข  เป็นต้น


         สินค้าที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ (WET)
         สินค้าที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบต้องมีการบรรจุหีบห่อเเละการจัดบรรทุกอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ  เพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมออกมาทำให้สินค้าอื่นเสียหาย  หรือกัดกร่อนอุปกรณ์บรรทุกสินค้าเเละห้องบรรทุกสินค้าภายในท้องเครื่องบิน  ให้เกิดความเสียหายได้  โดยเฉพาะสินค้าที่มีองค์ประกอบของน้ำเค็ม  หรือเป็นน้ำที่ออกมาจากสินค้าประเภทอาหารทะเล  หีบห่อของสินค้าประเภทนี้  จึงต้องกันน้ำรั่วซึมได้อย่างดี  ซึ่งส่านใหญ่จะใช้กล่องโฟม


      ตัวอย่างของรหัสที่ใช้ในการระบุประเภทของสินค้า


           รหัส                           คำอธิบายลักษณะของสินค้าที่ขนส่ง
         
          AVI                             สินค้าที่ยังมีชีวิต

          CAO                           สินค้าอันตรายสามารถขนส่งบนเครื่องบินสำหรับขนส่งสินค้าโดยเฉพาะ                                                   เท่านั้น

         COM                           ไปรษณีย์ของบริษัท

          CSU                            อุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับอาหารและอาหารในส่วนที่ไม่ได้ใช้บนเครื่อง

          DIP                             ไปรษณีย์ของสถานทูต

           EAT                            อาหารสำหรับมนุษย์ ยกเว้น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา และอาหารทะเล

         FIL                               ฟิล์มที่ยังไม่ได้ล้าง

         FKT                            อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเครื่องบิน (Flight Kit)

         HEA                             สินค้าที่มีน้ำหนักเกิน 150 กิโลกรัมต่อชิ้น

        HEG                             ไข่ที่พร้อมจะฟักเต็มตัว (Hatching Eggs)

         HUM                            ศพที่บรรจุในโลงศพ

        ICE                                น้ำแข็งแห้ง(คาร์บอนไดออกไซด์

        LHO                              อวัยวะมนุษย์ หรือ เลือดมนุษย์

         NIL                              ไม่มีสินค้า

         PEE                              ดอกไม้

         PER                              สินค้าที่เน่าเสียได้ ยกเว้น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา อาหารทะเล ดอกไม้ ผัก และ                                                 ผลไม้  

       PES                                 อาหารทะเล

       RFG                                ก๊าซติดไฟ

       RFS                                ของแข็งติดไฟ

       RIS                                 สารที่ติดเชื้อได้

       VAL                               สินค้ามีค่า

      WET                               การขนส่งของเปียกชื้นที่ไม่ได้บรรจุในตู้สินค้าที่สามารถเก็บความชื้นได้

      XPS                                พัสดุภัณฑ์ขนาดเล็กที่มีความสำคัญ                                       
                                                    
                                                                                                     

3 ความคิดเห็น:

  1. การขนส่งทางอากาศที่ไม่เป็นสินค้ามีอะไรบ้าง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การขนส่งทางอากาศที่ไม่นับว่าเป็นสินค้า
      1.ขนส่งผู้โดยสาร(Passenger)
      2.กระเป๋าสัมภาระที่ขนส่งภายใต้ Boarding Pass ก็ไม่นับว่าเป็นสินค้า
      แต่ถ้าจะส่งในรูปแบบสินค้าก็ต้องออกเอกสาร Air Waybill กำกับไว้

      ลบ
  2. การขนส่งสินค้าอันตรายมีขั้นตอนที่แตกต่างจากขนส่งสินค้าทั่วไปยังไงคะ

    ตอบลบ